“เศรษฐา ทวีสิน” ย้ำสร้างโอกาส เพิ่มความหวัง ยกระดับชีวิตประชาชน

นายกฯ แสดงวิสัยทัศน์เวที Dinner Talk สร้างโอกาส เพิ่มความหวัง พร้อมชี้แจงทุกการดำเนินงานของรัฐบาลเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ ยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ประชาชนทุกคน

เมื่อวันที่ 24 ต.ค. 2566 นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง กล่าวปาฐกถาพิเศษในงาน Dinner Talk Thailand’s Future อนาคตประเทศไทย 2024 โดยมี โดยนายกรัฐมนตรี กล่าวในตอนหนึ่งว่า รู้สึกสะเทือนใจต่อกรณีสถานการณ์ความรุนแรงที่อิสราเอลถือเป็นเรื่องใหญ่ เป็นกระจกสะท้อนความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย พร้อมกับขอร้องให้คนไทยในอิสราเอลรีบกลับมา ส่วนคนที่เปลี่ยนใจไม่กลับ เพราะนายจ้างเลื่อนจ่ายเงินไป 10 พ.ย.นี้ และจะให้เงินมากขึ้น ขอให้คิดดูว่าคุ้มหรือไม่ เข้าใจคนอยู่ในที่เสี่ยงเพื่อหาเงินเพราะไม่มีทางเลือก เพราะลำบาก จึงต้องเสี่ยงชีวิต

ประเทศไทยมีความเหลื่อมล้ำมากที่สุดประเทศหนึ่ง ปัญหาความเหลื่อมล้ำเป็นปัญหาใหญ่ต้องการการแก้ไข เงินหนึ่งหมื่นบาทของ 1 ครอบครัวสามารถเปลี่ยนชีวิต เปลี่ยนอาชีพได้ หากฟังอย่างมีเหตุมีผล ระยะเวลาที่ผ่านมารัฐบาลต้องการกระตุ้นทั้งระยะยาว และระยะยาว ในส่วนของนโยบาย Digital Wallet อาจมีคนไม่เห็นด้วย หรือเห็นด้วยแต่ต้องการให้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลง หรือเห็นด้วยอย่างมีข้อเสนอแนะ

รัฐบาลพร้อมที่จะรับฟังยืนยันเศรษฐกิจไทยต้องการการกระตุ้น การแจกเงินมีความหมายหลายอย่าง การกำหนดให้ใช้หมื่นบาทให้หมดใน 6 เดือน เพื่อเร่งการผลิต เร่งใช้จ่าย เกิดการหมุนเวียนของเงิน ส่วนการกำหนดไม่เกิน 4 กิโลเมตรหรือทั้งอำเภอ เพราะไม่อยากให้คนเอาเงินไปใช้ในเมืองใหญ่ อยากให้ร้านค้าในจังหวัดเล็ก ๆ ได้ด้วย ซึ่งรัฐบาลอธิบายได้ทั้งหมดเกี่ยวกับแนวคิดของการดำเนินงาน

นายกรัฐมนตรี กล่าวถึง การเดินทางไปต่างประเทศว่า ทุกภาคธุรกิจในหลายประเทศที่ตนเองได้ไปประชุมหารือด้วย ทุกคนยังมองเห็นโอกาสในประเทศไทยอีกมาก ซึ่งเป็นหน้าที่ของตนเองที่จะนำจุดเด่นของประเทศไทยไปขาย ไม่ว่าจะเป็นจุดเด่นที่กำลังทำอยู่ในวันนี้ คือ เรื่องของอุตสาหกรรมเดิมที่มีความแข็งแกร่ง หรือจะเป็นความพร้อมของอุตสาหกรรมใหม่ เป็น X Factor

สัปดาห์ที่แล้วได้เดินทางไปประเทศจีน หอการค้า สภาอุตสาหกรรม สมาคมธนาคารไปด้วย BOI นักธุรกิจไทย มีการประชุม โดยรัฐบาลจะเชื้อเชิญเอกชนร่วมเดินทางไปต่างประเทศ เพื่อทำ Business Matching ช่วยเอื้อให้เกิดการพูดคุย รัฐบาลอำนวยความสะดวกให้เกิดการค้าการลงทุน สินค้า Hitech ทั้งนี้ ไทยเป็นประเทศที่มีการลงทุนสินค้าประเภท EV โดยเป็นผลงานที่ส่งต่อมาจากรัฐบาลที่แล้วด้วย และรัฐบาลนี้พร้อมสานต่อ เราจะสนับสนุนให้เกิดการผลิต ก่อตั้งห่วงโซ่การผลิตที่ไทย

ต่อมาที่ซาอุดีฯ ได้พบบริษัทชั้นนำ SABIC SALIC ARAMCO และ PIF ซึ่งเป็นบริษัทกองทุนบำเหน็ดบำนาญ มีเงินลงทุนเจ็ดแสนล้านเหรียญ ซึ่งทุกบริษัทสนใจมาลงทุน โดยรัฐบาลนี้มีนโยบายที่จะเลี้ยงโคไปขายต่างประเทศ เนื่องจากมีความต้องการ บรูไน มาเลเซีย ซาอุดีฯ ทุกประเทศมีความต้องการโค

รัฐบาลจึงต้องพัฒนาแผนงานระยะกลางระยะยาว เพิ่มรายได้เกษตรกร ให้มีรายได้มากขึ้น 3 เท่า ภายใน 4 ปี ไม่ใช่แค่เพิ่มราคา แต่พัฒนาอาชีพด้วย การพักหนี้เป็นการเยียวยาจิตใจ ให้มีขวัญและกำลังใจ มีแรงประกอบอาชีพที่เสริมรายได้มากขึ้น พัฒนาความเป็นอยู่

นายกรัฐมนตรียืนยันว่า รัฐบาลนี้จะลงมือโครงการ Landbridge เพื่อยกระดับ Logistics ให้ไทยเป็น Logistics Hub ระดับโลก เชื่อว่าจะเป็นการเพิ่มโอกาส เชื่อว่าการลงทุนนี้จะเป็นการลงทุนครั้งใหญ่ เพื่อสร้างศักยภาพการแข่งขันให้คนไทย

ทั้งนี้ คุณมาวิน ธนะปรีดากุล ในฐานะตัวแทนนักลงทุนบล็อกเชนชาวไทย ได้กล่าวถึงการประชุมครั้งนี้ว่า คิดว่าประเทศไทยเป็นประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ที่น่าสนใจและเป็นแหล่งรวมของนักลงทุนทั่วโลก เหมาะกับการพัฒนาเศรษฐกิจด้านต่าง ๆ ทั้งทางตะวันออกเฉียงใต้ และเอเชียแปซิฟิก ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ และแอพพลิเคชั่นอื่นๆ อีกมากมาย

การนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อตอบสนองการเจริญเติบโตของธุรกิจ และการพัฒนาดาต้า จะช่วยนำพาให้เศรษฐกิจเกิดใหม่ของไทยโตเร็วมากยิ่งขึ้น การประชุมครั้งนี้ถือเป็นโอกาสที่ดีที่รวมเหล่าผู้เชี่ยวชาญ และผู้ที่มีความสามารถในด้านต่างๆ ในเอเชียแปซิฟิก เพื่อให้ประเทศไทยได้รับการพัฒนาเศรษฐกิจในวงกว้างมากยิ่งขึ้น”

สุดท้าย “คุณมาวิน” ได้ให้ทรรศนะเกี่ยวกับปัญหาความเหลื่อมล้ำของไทยเอาไว้ว่า ปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยเป็นสิ่งที่อยู่มาอย่างยาวนาน สิ่งเหล่านี้ถือเป็นการผลิตซ้ำที่เกิดขึ้นจากหลายปัจจัยร่วมกันโดยเฉพาะปัจจัยทางเศรษฐกิจ โดยมีกลุ่มคนเปราะบาง คนชายขอบ ที่ยังคงเป็นตัวแสดงหลักที่รับบทเป็นผู้ที่ถูกเลือกปฏิบัติ ถูกกีดกัน และถูกตีตราอยู่เสมอไป ไม่ว่าจะในสถานการณ์ใด ๆ ก็ตาม

ภาพสถานการณ์ในปัจจุบัน เราจะเห็นความเหลื่อมล้ำได้ชัด เป้าหมายด้านการลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรมในทุกมิติ ได้แก่ การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจฐานราก การเพิ่มผลิตภาพและคุ้มครองแรงงานไทย ให้เป็นแรงงานฝีมือที่มีคุณภาพมีความปลอดภัยในการทำงาน การสร้างหลักประกันทางสังคมที่ครอบคลุมและเหมาะสมกับคนทุกช่วงวัย การลงทุนทางสังคมแบบมุ่งเป้าเพื่อช่วยเหลือกลุ่มคนยากจนและกลุ่มผู้ด้อยโอกาส ถ้าหากรัฐสามารถดำเนินงานตามที่ระบุไว้ในยุทธศาสตร์นี้ได้สังคมไทยจะเป็นสังคมที่ปราศจากความเหลื่อมล้ำได้โดยปริยาย

สำหรับนโยบาย Digital Wallet มองว่าเป็นนโยบายที่ทางภาครัฐพยายามหยิบยื่นโอกาสในการใช้จ่ายอีกทางหนึ่งให้แก่ประชาชน เชื่อว่าสิ่งที่รัฐบาลทำมานั้นคิดมาดีแล้ว จึงมองว่าควรจะดำเนินการต่อไป ในส่วนของเศรษฐกิจไทยจะพลิกฟื้นขึ้นมาได้จากธุรกิจแบบไหน

ขอชี้แจงว่า ประเทศไทยมีความสามารถด้านต่างๆ อยู่ในระดับโลก ทั้งการส่งออกเกษตรกรรม สิ่งทอ และอื่นๆ เชื่อว่ามีนักธุรกิจเก่งๆ และนักลงทุนอีกมีมากมายที่สนใจมาทำธุรกิจกับประเทศไทย ซึ่งบุคลคลเหล่านี้จะนำมาซึ่งเม็ดเงินมหาศาล ขึ้นอยู่กับว่าไทยจะมองออกและสามารถคว้าโอกาสนั้นมาได้หรือไม่

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *